หน้าเว็บ

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติการนำโคนมมาเลี้ยงในประเทศไทย

 

การเลี้ยงโคนมเพื่อนำน้ำนมมาบริโภคในประเทศไทยเริ่มมานานแล้ว แต่เพิ่งมาเลี้ยงอย่างจริงจังเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนา ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์กขึ้นที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี   ร่วมกับพระเจ้าเฟรเดริคที่   ๙   (King  Frederick  IX) แห่งประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ศูนย์ฝึกอบรมนี้ ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย    มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะเดียวกัน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทดลองเลี้ยงโคนมด้วยพระองค์เอง  ในบริเวณสวนจิตรลดา และเมื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสามารถผลิตน้ำนมดิบได้เกินความต้องการของตลาด ก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างโรงงานนมผง  และศูนย์รับนม นอกจากนี้ยังทรงริเริ่มให้มีการจัดตั้งบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ดำเนินการผลิตนมผงใน  พ.ศ.  ๒๕๑๕ ต่อมาในพ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ทรงโอนกิจการของบริษัทนี้ให้สหกรณ์โคนมราชบุรี  จำกัด  ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์)
ในปัจจุบันมีแหล่งเลี้ยงโคนมที่สำคัญอยู่  ๔ แห่ง คือ บริเวณจังหวัดสระบุรี-นครราชสีมาลพบุรี บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-เพชรบุรีบริเวณจังหวัดเชียงใหม่   และบริเวณจังหวัดราชบุรี-นครปฐม   เกษตรกรในสามแหล่งแรกส่งน้ำนมดิบเข้าโรงงานขององค์การส่งเสริมกิจการโคนม แห่งประเทศไทยที่อำเภอมวกเหล็ก  จังหวัดสระบุรีอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ ส่วนแหล่งสุดท้ายส่งเข้าโรงงานของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี  จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) อย่างไรก็ตาม   ในระยะหลังได้มีการมีเลี้ยงโคนมกว้างขวางยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะในบริเวณใกล้เคียงกับวิทยาลัยเกษตรกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษาและบริษัทเอกชนที่มีการแปรรูปนม